หลักในการลงทุนเปิดร้านกรอบรูป
ปัจจุบันธุรกิจในการทำร้านกรอบรูปในบ้านเรา ถือว่ามีการขยายตัวน้อยมากค่ะ (จำนวนร้านกรอบรูปอันน้อยนิด เมื่อเทียบกับประชาชนคนไทย) เนื่่องจากเดิมร้านกรอบรูป ส่วนใหญ่จะสืบทอดมาจากรุ่นคุณพ่อ-คุณแม่ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความชำนาญและทักษะเฉพาะด้าน จึงมักจะไม่ถ่ายทอดทักษะในการทำงาน และความรู้ต่างๆในการทำร้านกรอบรูปนี้ให้กับบุคคลอื่น
bs-frame.com ขอแนะนำความรู้เล็กๆน้อยๆพร้อมหลักการและวิธีคิดในการทำร้านกรอบรูปแบบง่ายๆ ให้แก่ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการประกอบการตัดสินใจทำอาชีพนี้ หรือ ทำเป็นกิจกรรมงานอดิเรก ดังนี้ค่ะ
หลักและวิธีการคิดในการทำร้านกรอบรูป
1. การลงทุนทำร้านกรอบรูปสำหรับทำเป็นงานอดิเรกกึ่งงานอาชีพ และการกำหนดขนาดของร้านกรอบรูป
ในการลงทุนทำกรอบรูปนั้น ได้เน้นการลงทุนที่ต่ำ เนื่องจากพวกเราบางคนอาจจะยังไม่พร้อมลงทุนสูง จึงเน้นการลงทุนจากเลื่อยมือ 45 องศา ราคาประมาณ 2,000 บาท รวมอุปกรณ์ในการทำกรอบอาทิเช่น ไม้เส้น ไม้แผ่นหลัง กระจก และอุปกรณ์ย่อยๆ เช่น กากเพชรตัดกระจก เบอร์ 3, บรรทัดตัดกระจก 2 ฟุต, ไม้บรรทัดโลหะ 1 ฟุต, คัตเตอร์ใหญ่, ค้อน 300 กรัม, คีมตัด, ไขควง 4 นิ้ว, ผ้ารองตัดกระจก, กระดาษทรายขัดไม้, ดินสอและปากกาเมจิก, กาว, ตะปูเข็ม และตะปูเกลียว, บานพับ, ตัวแขวน, โป๊วรอยต่อ, กระดาษกาวน้ำ, โซ่หลัง, ตัวล็อกหลัง ราคารวมๆโดยประมาณจะอยู่ที่ 7,000-10,000 บาท แต่สามารถสร้างผลงานได้ไม่แพ้การลงทุนเป็นแสน สำหรับท่านที่มองว่างานด้านนี้เหมาะสม ทำเลดี มีเพื่อน หรือ ญาติมิตรสนับสนุน ก็อาจเปลี่ยนเป็นเครื่องจักร หรือเครื่องมือที่สะดวก รวดเร็ว ซึ่งงบประมาณในการลงทุนส่วนนี้ ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งเหมาะกับการรองรับงานที่มีปริมาณมากๆ ทั้งนี้และทั้งนั้นสิ่งที่ทุกคนจะขาดมิได้คือ ความประณีต ความละเอียด ความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลากับลูกค้าผู้มีอุปการะคุณ
2. การลงทุนทำร้านกรอบรูปขนาดกลาง
งบประมาณการลงทุน
1. ลูกค้าอาจจะต้องใช้เลื่อยวงเดือน(เลื่อยไฟฟ้า) พร้อมใบเลื่อยสำหรับตัดไม้พลาสติกโดยเฉพาะซึ่งมีหลายยี่ห้อ เลือกใช้ตามความชอบ สำหรับที่ร้านเราใช้ ใบเลื่อยของ freud จากประเทศอิตาลี่
2. เครื่องเข้ามุมไม้ แบบใช้เท้าเหยียบ ประมาณ 45,000 บาท
3. ไม้เส้น ไม้พลาสติก เราอาจจะลงทุนประมาณ 10,000 - 20,000 บาท
4. เครื่องมือทั่วๆไป งบประมาณ 3,000 - 5,000 บาท
การพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งของร้าน
เลือกแหล่งชุมชน มีการเดินทางที่สะดวก มีการเคลื่อนไหวของคนในชุมชน จัดเตรียมร้านให้เห็นชัดเจน ขั้นตอนต่อมา อยู่ที่การพิสูจน์ฝีมือของช่าง ว่าจะทำผลงานออกมา มีคุณภาพได้ตามเกณฑ์มาตราฐานหรือไม่
3. การลงทุนระดับมืออาชีพ งบประมาณ 200,000 บาทขึ้นไป
1. เครื่องมือ V-CUT MORSO from Denmark
2. เครื่องเข้ามุมไม้ แบบใช้เท้าเหยียบ ประมาณ 45,000 บาท
3. เครื่องเข้ามุมไม้ แบบใช้ปั้มลม ประมาณ 55,000 บาท
4. ไม้เส้น ไม้พลาสติก ลงทุนตามงบประมาณที่วางไว้ได้
5. เครื่องมือทั่วๆไป งบประมาณ 5,000 - 15,000 บาท
6. รูปภาพสำหรับใส่กรอบโชว์หน้าร้าน เช่น ภาพราชวงศ์, ภาพเขียน, ภาพถ่ายต่างๆ
การพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งของร้าน
แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ทั้งนี้ต้องพิจารณา การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ควบคู่กันไปด้วย